STONEWELL 100 HP
สารเคลือบ Polyurea ที่ถูกออกแบบมาให้มีการแห้งตัวช้า (ประมาณ 20 – 30 นาที) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถผสม Part A และ B เข้าด้วยกัน และมีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการทาสารเคลือบด้วยลูกกลิ้ง แปรง หรือ เกรียงปาด สารเคลือบที่ได้จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Pure Polyurea ที่ติดตั้งด้วยการพ่นด้วยเครื่องพ่น Plural Component Spray โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องพ่น สายพ่น ปืนพ่น ปั้มลม และไฟฟ้า ที่มีราคาสูงและเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
- Pure Polyurea 100% แบบ 2 ส่วนผสม (A + B )
- VOC 0 % ไม่ผสมสารละลาย ไม่มี Solvent ปลอดภัย ไม่มีกลิ่นรบกวนขณะใช้งาน
- Solid 100% ไม่มีการหดตัว หรือ ยุบตัว ของสารเคลือบหลังจากแห้งสนิท
- ใช้งานได้ง่าย สามารถทาได้ด้วย ลูกกลิ้ง แปรง หรือ เกรียงปาด
- ไม่มีฝุ่นละออง จากการพ่น (Dry Spray) ลดผลกระทบต่อวัสดุและสถานที่ใกล้เคียง
- ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้ทำงานใกล้เคียง ไม่มีฝุ่นละอองสีและกลิ่นฉุนเหมือน Polyurea แบบพ่นทั่วไป
- ทนน้ำ ทนแดดได้ดีมาก
- ยืดหยุ่นได้ถึง 900% สามารถกันซึมบนพื้นที่มีการแตกร้าวได้ดี
- ผิวที่เคลือบมีความสวยงาม เป็น Self leveling ปรับระดับในตัว
- ทำความหนาได้ถึง 2 mm. ภายใน 1 ชั้น (โดยการใช้เกรียงปาด)
- ทำความหนาได้ถึง 0.5 mm. ภายใน 1 ชั้น (โดยการทาด้วยลูกกลิ้ง)
ประโยชน์ที่ผู้ติดตั้ง STONEWELL 100 HP จะได้รับ
ประหยัดค่าใช้จ่าย
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่อง Plural Reactor Spray ที่มีราคาสูงและค่าซ่อมบำรุงสูง
ไม่ต้องการช่างผู้ชำนาญการ
ไม่ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการในการใช้เครื่อง
Plural Reactor Spray
ลดปัญหางานหยุดชะงัก
ไม่มีปัญหางานหยุดเพราะเครื่องพ่นมีปัญหา และไม่ต้องบริหารอะไหล่สำหรับเครื่อง Plural Reactor Spray
ไม่ต้องใช้เครื่องปั่นไฟฟ้ากำลังสูง
ไม่ต้องจัดหาเครื่องปั่นไฟฟ้ากำลังสูงและลมสำหรับใช้งานเครื่อง Plural Reactor Spray
ปราศจากฝุ่นและกลิ่นฉุน
ไม่มีฝุ่นละออง หรือ กลิ่นฉุน ขณะพ่น ไม่เสียเวลาติดเทปเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของละอองสี สามารถทำงานใกล้ผู้คนได้
สะดวกต่อการทำงานบนอาคารสูง
สะดวกต่อการทำงานบนอาคารสูง
โดยไม่ต้องยกเครื่องจักรใหญ่ขึ้น-ลงที่สูง
ปัญหาของสารเคลือบกันซึมแบบเดิมๆ
สารเคลือบกันซึมทั่วไป ที่ติดตั้งมาพร้อมกับงานก่อสร้างอาคาร หรือ โรงงาน มักจะใช้สารกันซึมราคาถูก คุณภาพต่ำ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เช่น กันซึมประเภทอะคริลิค , โพรียูรีเทน , แผ่นยางมะตอย , ซีเมนต์กันซึม , แผ่น PVC เมมเบรน ฯลฯ แต่ผู้ใช้งานอาคารมักจะพบปัญหากันซึมของอาคารเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง เมื่อซ่อมแก้ไขแล้วก็อยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากระบบกันซึมเหล่านั้น เสื่อมสภาพลงและสูญเสียความยืดหยุ่นไปเมื่อสัมผัสกับน้ำฝนและแสงแดด ทำให้เริ่มแตกร้าวตามสภาพคอนกรีต น้ำฝนสามารถไหลซึมลงตามรอยร้าว หรือ รอยต่อ ของสารกันซึมเข้าไปในโครงสร้างคอนกรีตได้
ระบบกันซึมแบบทาด้วยอะคริลิค หรือ โพรียูรีเทน (PU) เป็นที่นิยมมากสำหรับโครงการก่อสร้างใหม่เนื่องจากราคาถูก แต่ความทนทานต่ำ เมื่อถูกน้ำแช่ขัง และโดนแดด จะเสียความยืดหยุ่นได้อย่างรวดเร็ว และแตกร้าวได้ง่ายเมื่อพื้นคอนกรีตเกิดอาการแตกร้าว
ระบบกันซึมแบบแผ่นเมมเบรน มักจะมีปัญหารั่วซึมตามแนวรอยต่อแผ่น และการซ่อมบำรุงทำได้ยากมากเนื่องจากไม่ทราบว่ารอยรั่วอยู่ที่จุดใด เพราะเมื่อน้ำซึมลงไปที่รอยต่อจุดเดียวแล้วสามารถแพร่กระจายไปใต้แผ่นเมมเบรนได้เป็นพื้นที่กว้างๆ สุดท้ายลูกค้ามักจะต้องลอกรื้อแผ่นเมมเบรนทิ้งทั้งหมดเพื่อติดตั้งระบบกันซึมใหม่
วิธีการใช้งาน
วิธีการใช้งานด้วยเกรียงปาด
- ขัดรื้อลอกสารเคลือบเก่าออก (ถ้ามี) ทำการขัดผิวคอนกรีตให้สะอาดและหยาบด้วยหินเจียรขัดคอนกรีต หรือ เครื่องขัดที่เหมาะสม ผิวคอนกรีตต้องปราศจากสารเคลือบเดิม หรือ คราบกาวต่างๆ
- หากผิวคอนกรีตเดิมเสียหาย แตกร้าว กะเทาะหลุดร่อน สึกกร่อน ให้ซ่อมผิวคอนกรีตด้วยวัสดุซ่อมผิวคอนกรีตที่เหมาะสมก่อน
- ทา Epoxy Primer สำหรับรองพื้นผิวคอนกรีตที่เหมาะสม เช่น Vpocoat 200HB จำนวน 1 ชั้น หรือ มากกว่า
- เทผสม STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea – PART A ลงในภาชนะ PART B ทั้งหมด แล้วกวนด้วยสว่านผสมเป็นเวลา 3 – 4 นาที
- ให้เท STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea ที่ผสมกันดีแล้วลงในภาชนะสะอาดอีก 1 ใบ แล้วกวนด้วยสว่านผสมเป็นเวลาอีก 1 นาที จึงนำภาชนะนี้ไปใช้สำหรับเคลือบผิว
- เทสารเคลือบ STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea ที่ผสมเข้ากันดีแล้วลงบนพื้นผิวที่ต้องการเคลือบ จากนั้นปาดด้วยเกรียงหวีซึ่งปรับให้สารเคลือบมีความหนาที่ประมาณ 1.5 – 2.0 mm.
- บริเวณรอยต่อ Joint ต่างๆ รอยต่อพื้นและผนัง และ รอยร้าวต่างๆ ควรติดเทปพลาสติกก่อนทำการเคลือบทับ
- หลังจากสารเคลือบแห้งตัวแล้วเป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถทาสารเคลือบอื่นๆทับได้ เช่น สารเคลือบ Polyurethane เพื่อกันสีซีดจาง
วิธีการใช้งานด้วยลูกกลิ้ง
- ขัดรื้อลอกสารเคลือบเก่าออก (ถ้ามี) ทำการขัดผิวคอนกรีตให้สะอาดและหยาบด้วยหินเจียรขัดคอนกรีต หรือ เครื่องขัดที่เหมาะสม ผิวคอนกรีตต้องปราศจากสารเคลือบเดิม หรือ คราบกาวต่างๆ
- หากผิวคอนกรีตเดิมเสียหาย แตกร้าว กะเทาะหลุดร่อน สึกกร่อน ให้ซ่อมผิวคอนกรีตด้วยวัสดุซ่อมผิวคอนกรีตที่เหมาะสมก่อน
- ทา Epoxy Primer สำหรับรองพื้นผิวคอนกรีตที่เหมาะสม เช่น Vpocoat 200HB จำนวน 1 ชั้น หรือ มากกว่า
- เทผสม STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea – PART A ลงในภาชนะ PART B ทั้งหมด แล้วกวนด้วยสว่านผสมเป็นเวลา 3 – 4 นาที
- ให้เท STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea ที่ผสมกันดีแล้วลงในภาชนะสะอาดอีก 1 ใบ แล้วกวนด้วยสว่านผสมเป็นเวลาอีก 1 นาที จึงนำภาชนะนี้ไปใช้สำหรับเคลือบผิว
- เทสารเคลือบ STONEWELL 100HP Hand Apply Pure Polyurea ที่ผสมเข้ากันดีแล้วลงบนพื้นผิวที่ต้องการเคลือบ จากนั้นทาเคลือบผิวด้วยลูกกลิ้งทาสีขนสั้นแบบกันสารเคมี โดยกลิ้งให้ทั่วบริเวณ เกลี่ยความหนาให้เท่าๆกัน จะได้ความหนาประมาณ 0.5 – 1 mm. ต่อ 1 ชั้น
- บริเวณรอยต่อ Joint ต่างๆ รอยต่อพื้นและผนัง และ รอยร้าวต่างๆ ควรติดเทปพลาสติกก่อนทำการเคลือบทับ
- หลังจากสารเคลือบแห้งตัวแล้วเป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถทาสารเคลือบอื่นๆทับได้ เช่น สารเคลือบ Polyurethane เพื่อกันสีซีดจาง